วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วีดีโอ3

วีดีโอ2

วีดีโอ

ลิงค์10

ดอกไม้ประดับ

ลิงค์9

ดอกไม้

ลิงค์8

การเพาะปลา

ลิงค์7

การเลี้ยงปลากด

ลิงค์6

วงค์ปลากด

ลิงค์5

ปลากด

ลิงค์4

ออกกำลังกาย

ลิงค์3

นำผลไม้

ลิงค์2

สมุนไพร

ลิงค์2

การทำอาหาร

การจัดการเกี่ยวกับบทความ

วงศ์ปลากด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bagaridae) เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบนขากรรไกรและเพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น มีการกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำจืดไปจนถึงน้ำกร่อยตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงหมู่เกาะซุนดา พบประมาณ 200 ชนิด
สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง, ปลา, กุ้ง, ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย
เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญเรียกในภาษาอังกฤษว่า "naked catfish" หรือ "bagrid catfish" สำหรับในภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลากด" ในปลาขนาดใหญ่ และ "ปลาแขยง" หรือ "ปลามังกง" ในปลาขนาดเล็ก โดยมีสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือสกุล Rita ที่พบได้ในประเทศอินเดียและแม่น้ำสาละวินที่เมื่อโตเต็มที่อาจใหญ่ได้ถึง 2 เมตร[1][2][3]
                                    

วงค์ปลากด









วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทดสอบแทรกรูปภาพ


บทความปลากด5

ปลากดคัง

ปลากดแก้ว หรือปลากดคัง กดหางแดง กดข้างหม้อ กดเขี้ยว มีชื่อสามัญว่า Red tail Mystus และมีชื่อวิทยา ศาสตร์ว่า Mystus ruckioides ปลากดคังเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากมีรสชาติดี มีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง พบแพร่กระจายกว้างขวางและมีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลกสามารถผลิตลูกปลาได้เป็นจำนวนมาก

ลักษณะทั่วไป
ปลากดคัง เป็นปลาที่มีรูปร่าง ยาวเพรียว ส่วนหัวแบนกว้าง ด้านบนของหัวเรียบ ลำตัวด้านบนมีสีม่วง-เทาปนดำส่วนท้องขาว ปากกว้าง จงอยปากทู่ ตำแหน่งของปากอยู่ต่ำ ฟันคม ตาไม่มีเยื่อหุ้มและอยู่ระดับเดียวกับมุมปาก มีหนวด 4 คู่ ครีบหูมีสีเทาดำ ครีบหางเว้าลึกแฉกบนยาวกว่าแฉกล่าง ครีบหางมีสีแดงเข้มมากกว่าครีบอื่นๆ ปลากดคังจัดเป็นปลาขนาดใหญ่ ในธรรมชาติพบปลาขนาดตั้งแต่ 1-3 กก. ความยาว 30-50 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบ ความยาว 150 ซม. น้ำหนัก 30 กก.

การแพร่กระจาย
ในประเทศไทยพบ ใน แม่น้ำน่าน ยม ปิง เจ้าพระยา แม่กลอง ท่าจีน แควน้อย ตลอดจนอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่างๆ เช่น เขื่อนสิริกิติ์ ภูมิพล รัชชประภา ในต่างประเทศพบที่ ลาว กัมพูชา พม่า และจีน

ความแตกต่างระหว่างเพศ
แม่พันธุ์ปลา ช่องเพศมีลักษณะกลมนูนสีแดงจะมีส่วนท้องอูม และอ่อนนิ่ม ในฤดูวางไข
พ่อพันธุ์ มีรูปร่างลำตัวเรียวยาว มีติ่งเพศยาวสีชมพูเรื่อๆ ไม่สามารถรีดน้ำเชื้อออกมาได้
ปลาพ่อแม่พันธุ์ ควรมีขนาด 2-3 กก.ขึ้นไป

การเพาะพันธุ์ปลากดคัง
ปลากดคังสามารถเพาะพันธุ์ได้โดยวิธีฉีดฮอร์โมนผสมเทียม โดยพ่อแม่พันธุ์ที่ใช้ในการเพาะพันธุ์อาจเป็นปลาที่รวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติและนำมาเลี้ยงให้มีความสมบูรณ์เพศในบ่อดิน หรือเป็นปลาที่คัดเลือกมาจากลูกปลาที่เลี้ยงในบ่อดินที่มีลักษณะเด่นนำมาเลี้ยงให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ก็ได้อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาลงเลี้ยงในบ่อดิน 1 ตัว/ 6 ตารางเมตร ให้อาหารเม็ดที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต โดยพ่อแม่พันธุ์จะมีความสมบูรณ์เพศสามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ในช่วงระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง เดือน กันยายน ชนิดของฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดกระตุ้นให้แม่ปลาวางไข่คือ ฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetatae ที่มีชื่อทางการค้าว่า suprefact ใช้ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ domperidone ที่มีชื่อทางการค้าว่า motilium การฉีดฮอร์โมนสามารถแบ่งได้ทั้งการฉีดครั้งเดียว และสองครั้ง ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมนคือบริเวณกล้ามด้านข้างลำตัว หรือบริเวณช่องท้อง การฉีดครั้งเดียวใช้อัตราความเข็มข้นของฮอร์โมนสังเคราะห์ 15-20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ร่วมกับยาสัมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถนำแม่ปลามารีดไข่ผสมเทียมได้ในเวลา 12.00 – 15.00 ชั่วโมง ส่วนการแบ่งฉีดสองครั้งในอัตราความเข้มข้นของฮอร์โมนสังเคราะห์ครั้งแรก 5 ไมโครกรัม/กิโลกรัม เว้น 6 ชั่วโมง ครั้งที่สอง 15 ไมโครกรัม/กิโลกรัม การฉีดฮอร์โมนทุกครั้งใช้ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถนำแม่ปลามารีดไข่ผสมเทียมได้ในเวลา 06.00 – 09.30 ชั่วโมง หลังจากฉีดฮอร์โมนครั้งที่สองการผสมเทียมใช้วิธีแห้ง เมื่อแม่ปลาพร้อมวางไข่ให้นำมารีดไข่ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้แล้วผ่าท้องปลาเพศผู้เพื่อนำถุงน้ำเชื้อมาบดผสมกับไข่ของแม่ปลาแล้วใช้ขนไก่คนให้ทั่ว ล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วจึงนำไปฟักในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับให้ไข่ติดแขวนลอยอยู่ในบ่อเพาะฟักที่มีหลังคาปกคลุม การเทไข่พยายามให้ไข่กระจายไปทั่ว ๆ อย่าให้ไข่กองทับกัน ซึ่งจำทำให้ไข่เสียไข่ปลากดคัง เป็นไข่จมติดมีสารเหนียวห่อหุ้มมีขนาด 2.25 มิลลิลิตรไข่ดีจะมีสีเหลืองใส ส่วนไข่เสียจะเป็นสีขาวขุ่นที่อุณหภูมน้ำ 27 องศาเซลเซียส ไข่จะฟักออกเป็นตัวเวลา 30-32 ชั่วโมง ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวมีขนาดความยาว 5-6 มิลลิเมตร

บทความปลากด4

ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckioides หรือ Macrones wyckioides (เดิม Mystus wyckioides) อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) ที่มีขนาดโตเต็มที่ราว 1.5 เมตร หนักได้ถึง 100 ก.ก. แต่ที่พบโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 50 - 60 ซม. ลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง ครีบหางและครีบอื่น ๆ มีสีแดงสดหรือสีส้มสด ไม่มีแถบขาวบนขอบครีบหางส่วนบนเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ พบในแม่น้ำของไทยทุกภาค และในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ นิยมนำมาบริโภคโดยการปรุงสด ลวก จิ้ม หรือยำ มีราคาค่อนข้างแพง มีการเพาะเลี้ยงเป็นกระชังอยู่ริมแม่น้ำสายใหญ่บางสาย และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
กดคังมีชื่อเรียกอื่น อีกเช่น "ปลากดแก้ว" "ปลากดเขี้ยว" เป็นต้น

บทความปลากด3

ปลากดคัง



ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrones wyckioides(เดิมMystus wyckioides) อยู่ใน "วงศ์ปลากด">วงศ์ปลากด (Bagaridae) ที่มีขนาดโตเต็มที่ราว 1.5 เมตร หนักได้ถึง 100 ก.ก. แต่ที่พบโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 50 - 60 ซม. ลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง

ครีบหางและครีบอื่น ๆ มีสีแดงสดหรือส้มสด ไม่มีแถบขาวบนขอบครีบหางส่วนบนเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ พบในแม่น้ำของไทยทุกภาค และในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ นิยมนำมาบริโภคโดยการปรุงสด ลวก จิ้ม หรือยำ มีราคาค่อนข้างแพง มีการเพาะเลี้ยงเป็นกระชังอยู่ริมแม่น้ำสายใหญ่บางสาย และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย กดคังมีชื่อเรียกอื่น อีกเช่น "ปลากดแก้ว" "ปลากดเขี้ยว" กดหางแดง กดข้างหม้อ เป็นต้น

ปลากดคังจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในครอบครัวนี้ในธรรมชาติส่วน ใหญ่พบปลาขนาดตั้งแต่ 1-3 กิโลกรัม ความยาว 30-50 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบมีขนาดความยาวถึง 150 เซนติเมตร น้ำหนัก 30 กิโลกรัม และเคยมีผู้พบปลาขนาดน้ำหนักสูงสุด 70 กิโลกรัม


ปลากดคังเป็นปลาที่มีลักษณรูปร่าง ยาวเพรียว ส่วนหัวแบนกว้าง ด้านบนของหัวเรียบ ลำตัวด้านบนมีสีม่วงเทาปนดำ ส่วนท้องขาว ปากกว้าง จงอยปากทู่ ตำแหน่งของปากตั้งอยู่ต่ำ ฟันคม ตาไม่มีเยื่อหุ้ม และอยู่ระดับเดียวกับมุมปาก มีหนวด 4 คู่ คือหนวดที่จมูกค่อนข้างสั้น ยาวถึงกึ่งกลางตาเท่านั้น


หนวดที่ขากรรไกรยาวเลยครีบหลังเกือบถึงครีบไขมัน โคนหนวดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่กว่าคู่อื่นอย่างเห็นได้ชัด หนวดใต้คาง และหนวดที่ขากรรไกรล่างยาวถึงฐานครีบอก ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 7-8 ก้าน ก้านครีบแข็งอันแรกของครีบหลังทางส่วนครึ่งล่างของโคนก้านแข็ง มีเงี่ยงแหลมคม แต่ทางส่วนครึ่งบนอ่อน ทำให้ไม่สามารถทำอันตรายต่อคนหรือสัตว์อื่นได้ ครีบอกประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 1 ก้าน และก้านครีบอ่อน 8-9 ก้าน ครีบท้องประกอบด้วย ก้านครีบอ่อน 6 ก้าน ครีบก้นประกอบด้วยก้าน ครีบอ่อน 10-11 ก้าน มีซี่กรองเหงือก จำนวน 12 ก้าน ครีบหูมีสีเทาดำ ครีบหางเว้าลึก แฉกบนยาวกว่าแฉกล่าง ครีบหางมีสีแดงเข้มมากกว่าครีบอื่น ๆ ส่วนหน้าของครีบท้องและครีบก้นมีสีขาวปนเหลือง ปลายครีบสีแดง ครีบไขมันมีสีเข้มออกม่วงอมดำ

บทความปลากด2

วงศ์ปลากด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bagaridae) เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบนขากรรไกรและเพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น มีการกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำจืดไปจนถึงน้ำกร่อยตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงหมู่เกาะซุนดา พบประมาณ 200 ชนิด
สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง, ปลา, กุ้ง, ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย
เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญเรียกในภาษาอังกฤษว่า "naked catfish" หรือ "bagrid catfish" สำหรับในภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลากด" ในปลาขนาดใหญ่ และ "ปลาแขยง" หรือ "ปลามังกง" ในปลาขนาดเล็ก โดยมีสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือสกุล Rita ที่พบได้ในประเทศอินเดียและแม่น้ำสาละวินที่เมื่อโตเต็มที่อาจใหญ่ได้ถึง 2 เมตร[1][2][3]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Ferraris, Carl J., Jr. (2007). "Checklist of catfishes, recent and fossil (Osteichthyes: Siluriformes), and catalogue of siluriform primary types" (PDF). Zootaxa 1418: 1–628. http://silurus.acnatsci.org/ACSI/library/biblios/2007_Ferraris_Catfish_Checklist.pdf. Retrieved 2009-06-25.
  2. ^ Nelson, Joseph S. (2006). Fishes of the World. John Wiley & Sons, Inc. ISBN 0-471-25031-7.
  3. ^ Zhang, Genhua; Deng, Shaoping; Zhang, Haiyun; Li, Hongtao; Li, Leilei (2006). "Distribution of different taste buds and expression of a-gustducin in the barbells of yellow catfish (Pelteobagrus fulvidraco)". Fish Physiology and Biochemistry 32 (1): 55–62. doi:10.1007/s10695-006-6937-z. PMID 20035479.

บทความปลากด1

ความเป็นมาเป็นเหยื่อ ที่เคยใช้กับน้าอยู่ 2 - 3 ครั้ง เขา ใช้ ตกกับเบ็ดราว มัดอยู่ใต้น้ำหน้าดินเป็นแถวยาว เป็นเหยื่อหมัก หมายธรรมชาติ ทั่วไป
ประมาณว่า เบ็ดราว 30 ตัว เกี่ยวเหยื่อยังไม่ทันเสร็จหมด ปลา ฉวยไล่หลัง ให้วุ่นเลยครับ
เอา ไปลองดูครับ ได้ผลยังไง บอก กลับด้วยครับ จะขอบคุณยิ่ง

ปลาที่ตกได้
ตระกูลปลากดทั่วไป

ส่วนผสม
1. มันหมู  1/2 กก.
2. รำละเอียด ร่อน ประมาณ 10 - 15 ช้อนแกง
3.  ไข่ไก่  3 ฟอง
4. ข้าวคั่ว 2 ช้อนแกง

วิธีทำ
1.  หั่นมันหมู เป็นชิ้นเล็ก ขนาด ประมาณ นิ้วก้อย ยาวประมาณ 2- 3 ซม.
2.  นำลงคลุก กับ ส่วนผสมอื่น ทั้งหมด โดย คลุกให้ส่วนผสมเข้ากันจนทั่ว
3.  ใส่โหล ปิดฝาให้สนิท(สนิทจริงๆ)  
4.  ทิ้งไว้ อย่างน้อย 3 วัน

วิธีใช้
ค่อยๆ เปิดฝา โหล ที่หมักไว้ นำไปเปิด ห่างๆ บ้านหน่อย ก็ดีครับ 55555 หาว่า ไม่เตือน
แล้วใช้ช้อน สะอาด แบ่งใส่กระปุก เท่าที่ต้องการ จะนำไป ตก ตอนจะเกี่ยว กับตะขอ ก็เกี่ยวแบบซ่อนตะขอ ก็ได้
หรือแบบที่ท่านถนัดก็ได้ แล้วก็เหวี่ยงไปยัง "หมาย" ที่ท่านต้องการ เตรียมตัวเตรียมใจ ได้เลยครับ เดี๋ยวมี เฮ.....
อ้อ...ได้ยินมาว่า ตอนเปิดฝาเหยื่อหมัก ทุกชนิด กรุณาอย่าเผลอหลุดปากออกมาครับ ว่า เหม็น เดี๋ยวจะ ไม่หมาน (ไม่เฮง)
ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่ เชียว 555555